การคัดเลือกลูกกุ้ง

   

การคัดเลือกลูกกุ้ง

               จากปัญหา EMS ที่เกิดขึ้น  ทางกรมประมงได้ออกสำรวจโรงเพาะฟัก  และพบว่าลูกกุ้งพีก่อนนำมาปล่อยลงเลี้ยงนั้น มีคุณภาพเสื่อมถอยอย่างมาก เช่น พบลำตัวสกปรก รยางค์มีรอยกัดกร่อนเนื่องจากสภาพบ่อเลี้ยงกุ้งที่หมักหมม  มีแบคทีเรียในตัวมากถึง 104 - 106  มีสภาพตับที่ไม่สมบรูณ์ และการพบโปรโตซัวในตับ เหล่านี้แสดงให้เห็นถึงคุณภาพของลูกกุ้งขาวด้อยลงไปมาก การขายลูกกุ้งที่มีอายุน้อยที่ไม่พร้อมกับการปรับตัวต่อสิ่งแวดล้อมในบ่อดิน ซึ่งมีความความเสี่ยงในการที่จะตาย หรือติดเชื้อโรคซ้ำซ้อนในบ่อเลี้ยง  ซึ่งอาจเป็นส่วนร่วมให้เกิดโรค EMS   กรมประมงจึงได้กำหนดสิ่งที่ต้องพิจารณาคุณภาพลูกกุ้งไว้ ดังนี้       

 

     1. อายุลูกกุ้ง        ควรมากกว่า PL 10 

          ส่องกล้องเพื่อดูอายุโดยนับจากจำนวนหนามบนกรีของลูกกุ้ง โดย  1 หนาม จะเท่ากับ  3  PL เช่น ลูกกุ้งมีหนาม 6หนาม คือ PL 18


ลูกกุ้งระยะ P18

 

     2. ความสมบูรณ์ของลักษณะภายนอก

        ลูกกุ้งจะต้องมีลำตัวสะอาด ไม่มีการเกาะของโปรโตซัว และต้องมีความสมบูรณ์ของรยางค์ต่างๆครบถ้วน(ขาเดิน , ขาว่ายน้ำ)

 

 

ภาพแสดง : ขาว่ายน้ำครบถ้วน

 

ภาพแสดง : ขากุด

     3.อัตราส่วนกล้ามเนื้อต่อลำไส้

          อัตราส่วนนี้แสดงถึงการเจริญเติบโตที่ดี  โดยดูจากปล้องที่ 6 (ปล้องสุดท้าย)   ซึ่งจะต้องมากกว่า   4:1

 

 

ภาพแสดง :  อัตรากล้ามเนื้อ/ลำไส้  มากกว่า  4:1

 

     4.การปรับตัวต่อสภาพแวดล้อมและความเครียด

          ลูกกุ้งที่แข็งแรงจะต้องสามารถปรับตัวให้ทนต่อความเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมและความเครียดได้ 

          วิธีการ

     - นำลูกกุ้ง 50 ตัว  มาแช่น้ำจืด(0 ppt)  ปริมาณ  5 ลิตร      นาน   30  นาที

     - นำลูกกุ้ง 50 ตัว  มาแช่สารละลายฟอร์มาลินเข้มข้น  100 ppm (0.5 ซีซี)    

ปริมาณน้ำ 5 ลิตร    นาน  30  นาที

     *หลักเกณฑ์*             ต้องไม่พบตัวตาย

 

     5.ความสมบูรณ์ของตับ

          ลูกกุ้งที่ดีจะต้องมีตับที่ลักษณะสมบูรณ์  ไม่ฟ่อ  คอด  หงิกงอ  และต้องอาหารสะสมเป็นจำนวนมาก(เม็ดไขมัน)

     วิธีการ

  • สุ่มลูกกุ้ง  10  ตัว  ส่องดูลักษณะตับใต้กล้องจุลทรรศน์     

     *หลักเกณฑ์*

   -  พบลักษณะตับผิดปกติ(ฟ่อ)ไม่ปล่อยเลี้ยง

   -  พบลักษณะตับ  คอด  หงิกงอ   ได้ไม่เกิน  2  ตัว

 

 

ภาพแสดง :  ตับสมบูรณ์ เม็ดไขมันมาก

 

ภาพแสดง :  ตับคอด หงิกงอ  ไม่พบเม็ดไขมันสะสม

 

     6.การเพาะเชื้อลูกกุ้ง

          ลูกกุ้งที่ดีจะต้องไม่พบการปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรียวิบริโอเป็นจำนวนมาก

             วิธีการ

  -    นำลูกกุ้ง   1 กรัม(PL 10 ประมาณ  250 ตัว)   มาบดรวมกัน

  -    เติมน้ำสะอาด  10  ml

  -    นำน้ำที่มีลูกกุ้งบดอยู่มา0.05 ml(1 หยด) หยดลงบนอาหารเลี้ยงเชื้อ ใช้แท่งแก้วเกลี่ยให้ทั่ว  ทิ้งไว้  12-16  ชั่วโมง   นับจำนวนเชื้อที่ขึ้นบนอาหาร

           * หลักเกณฑ์*             

     พบเชื้อวิบริโอรวมไม่เกิน                              50    โคโลนี

     พบเชื้อวิบริโอ(เขียว)ไม่เกิน                          5      โคโลนี

     ไม่ควรพบเชื้อวิบริโอ(เรืองแสง)

Visitors: 33,954