ความสำคัญของแร่ธาตุ

การเลี้ยงกุ้ง

     สำหรับการเลี้ยงกุ้งในประเทศไทย ถือว่าเป็นประเทศที่เลี้ยงเป็นอันดับของโลกก็ว่าได้ ฉะนั้นการเลี้ยงกุ้งที่เป็นมากจึงเป็นการเลี้ยงแบบพัฒนา โดยปล่อยกุ้งแบบหนาแน่น ทำให้ความต้องการแร่ธาตุของกุ้งในแต่ละบ่อมีมากขึ้นตามปริมาณกุ้งทำให้มีปัญหาต่าง ๆ ตามมามาหมาย

     ในปัจจุบันเราพบว่าผู้เลี้ยงกุ้งทะเลบางรายมีปัญหากับการเลี้ยงกุ้งในบ่อของตัวเอง ดังนั้นการมองหาปัญหาที่เกิดจึงอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ หนึ่งในนั้นอาจเป็นปัญหาเรื่องของแร่ธาตุที่ไม่เพียงพอต่อความต้องการและการปรับสมดุลย์แร่ธาตุของกุ้งที่เราปล่อยเลี้ยงก็เป็นได้ ความสำคัญของแร่ธาตุในการเลี้ยงกุ้งทะเล กุ้งเป็นสัตว์ที่มีเปลือกเป็นโครงสร้างหุ้มร่างกาย

     กุ้งเจริญเติบโตได้ต้องลอกคราบ สารอาหารที่กุ้งกินหรือได้รับกุ้งจะนำไปใช้เพื่อ

      1.การดำรงชีวิต    2.สร้างเปลือก

     3.การเจริญเติบโต 4.ใช้พัฒนาในระบบสืบพันธุ์

     แร่ธาตุเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในโครงสร้างเปลือก และเนื้อเยื่อที่อ่อนนุ่ม รวมทั้ง เป็นองค์ประกอบปัจจัยร่วมและ หรือตัวกระตุ้น ในเอนไซม์น้ำย่อย หลายชนิดของกุ้ง แร่ธาตุที่ละลายได้ดี เช่น แคลเซียม(Ca), ฟอสฟอรัส(P), โซเดียม(Na), โปตัสเซียม( K), และ คลอไรด์(Cl) แร่ธาตุเหล่านี้จะทำหน้าที่ในระบบสมดุลเกลือแร่ระหว่างร่างกายสัตว์กับสิ่งแวดล้อม รวมทั้งบำรุงรักษาความสมดุลความเป็นกรดด่างของร่างกายและความต่างศักย์ของเนื้อเยื่อของกุ้งเพื่อทำให้สามารถอยู่ได้อย่างปกติ โดยแร่ธาตุที่สำคัญหลายตัว เกษตรกรสามารถเพิ่มลงไปในน้ำที่เลี้ยงกุ้งได้โดยตรง โดยต้องทราบแร่ธาตุในน้ำทะเลก่อนเป็นอันดับแรก

1.  แร่ธาตุในน้ำทะเล

     แล้วเราทราบได้อย่างไรว่ากุ้งต้องการแร่ธาตุมากน้อยแค่ไหน ดังภาพที่ 1 แสดงให้เห็นปริมาณแร่ธาตุ ในน้ำทะเลที่ความเค็ม 35 ppt จะเห็นว่ามีแร่ธาตุอีกหลายชนิด นอกจาก แคลเซียม และแมกนีเซียม ที่กุ้งต้องการ แค่เราไม่เคยใช้เติมลงไปในบ่อมาก่อน

2.  ความต้องการแร่ธาตุของกุ้ง

แร่ธาตุที่มีความสำคัญต่อกุ้งมีมากมายหลายชนิด แต่ที่เราต้องให้ความสำคัญเป็นพิเศษ ได้แก่โดยการเจริญเติบโตของกุ้ง คือการลอกคราบเก่าทิ้งไป แล้วสร้างเปลือกใหม่ที่มีขนาดใหญ่มาทดแทน หลังจากลอกคราบเก่าทิ้ง จะดึงแร่ธาตุต่างๆ ในน้ำ มาสร้างเปลือก

ซึ่งแร่ธาตุที่จำเป็นต่อกุ้งได้แก่

·     แร่ธาตุหลัก 7 ชนิด Mg, Ca, K,P, Na, Cl, So4

·     แร่ธาตุรอง Cu, Fe, Mn, I, Se,Co,Zn

แมกนีเซียม ( Mg+2 )
ธาตุที่เราให้ความอันดับ 1.แมกนีเซียมอยู่ในโครงสร้างร่างกายของกุ้ง 70 % ส่วนอีก 30 % พบในเนื้อเยื่อและเลือด กุ้งจะใช้แมกนีเซียมได้อย่างมีประสิทธิภาพก็ต่อเมื่อมีสัดส่วนที่สมดุลกับแคลเซียม คือ อัตราส่วน แมกนีเซียม 3 ส่วนต่อแคลเซียม 1 ส่วน
ความสำคัญของแมกนีเซียม :
-
กระตุ้นการทำงานของเอนไซม์หรือน้ำย่อยของกุ้งช่วยให้อาหารเปลี่ยนไปเป็นพลังงานในการดำรงชีวิตได้อย่างสมบูรณ์ โดยแมกนีเซียมจะช่วยในการกระตุ้นการทำงานของ ATPหากขาดแมกนีเซียมจะส่งผลให้การยืดตัวของกล้ามเนื้อและการเต้นของหัวใจผิดปกติ
-
แมกนีเซียมช่วยควบคุมการเต้นของหัวใจและการยืดหดตัวของกล้ามเนื้อ แมกนีเซียมส่วนเกินจะถูกขับออกออกมาพร้อมกับอุจจาระ
ผลของการขาดแมกนีเซียม
-
ค่าอัลคาไลน์ของน้ำไม่คงที่และลดต่ำลง กุ้งลอกคราบแล้วเปลือกแข็งช้า
-
กล้ามเนื้อเกร็ง และเกิดสภาวะ หัวใจล้มเหลว

แคลเซียม ( Ca+2 )
กุ้งจะใช้แคลเซียมควบคู่กับฟอสฟอรัสในอัตราส่วน 1 : 1 จึงจะมีประสิทธิภาพสูงสุด แคลเซียมจะถูกดูดซึมเข้าสู่เนื้อเยื่อได้ดีกว่าฟอสฟอรัส การดูดซึมของแคลเซียมจะเกิดได้ดีและมากขึ้น เมื่อมี วิตามิน ดี อยู่ด้วย ตามปกติแคลเซียมจะสะสมที่ตับและตับอ่อนในรูปของเกลือแคลเซียมฟอสเฟตและเป็นองค์ประกอบของโครงสร้างภายนอกของกุ้ง เมื่อขาดแคลเซียมจะส่งผลให้กุ้งเปลือกบางนิ่มเปลือกแข็งช้าหลังจากลอกคราบ

โซเดียม ( Na+) และ โปแตสเซียม ( K+)
โซเดียมเป็นธาตุที่เป็นองค์ประกอบในร่างกายของกุ้ง โดยจะเป็นองค์ประกอบของกล้ามเนื้อ 90 %และโซเดียมที่เป็นส่วนเกิน กุ้งจะขับออกมาพร้อมกับอุจจาระ
ความสำคัญของโซเดียมและโปแตสเซียม
-
ควบคุมและรักษาสมดุลแร่ธาตุภายในร่างกายกับสิ่งแวดล้อมภายนอกให้สมดุลอยู่ตลอดเวลา
-
รักษาสภาวะความเป็น กรด - ด่าง ของร่างกายให้สมดุลอยู่เสมอ 

ผลของการขาดโซเดียมและโปแตสเซียม
 -
กุ้งเบื่ออาหาร โตช้าสูญเสียน้ำหนักตัว เลือดเป็นกรด
 -
การใช้ประโยชน์จากโปรตีนน้อยลง เนื่องจากโซเดียมเป็นตัวกระตุ้นการทำงาน หรือ โคเอนไซม์
 ของ เอนไซม์ โปรติเอส ( น้ำย่อยโปรตีน ) หากขาดโซเดียมจะทำให้การย่อยโปรตีนต่ำลง
 

คลอไรด์ ( Cl- )
คลอไรด์พบในของเหลวที่เป็นประกอบของร่างกายทั้งที่อยู่ภายในและภายนอกเซลล์ คลอไรด์ภายในตัวกุ้งกับน้ำทะเลจะมีปริมาณใกล้เคียงกันจึงไม่ส่งผลต่อการปรับสมดุลของแร่ธาตุตัวอื่น กรณีที่เลี้ยงในน้ำจืดจะส่งผลโดยตรงต่อการย่อยอาหารของกุ้งโดยเฉพาะการย่อยอาหารกลุ่มคาร์โบไฮเดรต
ความสำคัญของคลอไรด์
-
เมื่ออยู่ในเลือดจะรักษาระดับความเป็น กรด - ด่าง ของเอนไซม์
-
ควบคุมการเข้าออกของสารละลายระหว่างร่างกายกับสิ่งแวดล้อมและน้ำภายในเซลล์
-
กระตุ้นการทำงานของเอนไซม์อะไมเลสให้ทำงานอย่างเป็นปกติ (ย่อยแป้ง หรือ คาร์โบไฮเดรต)
ผลของการขาดคลอไรด์
การเลี้ยงกุ้งในพื้นที่ความเค็มต่ำ - น้ำจืด การเลี้ยงแบบหนาแน่น จะส่งผลให้กุ้งขาดแร่ธาตุ และส่งผลให้กุ้งใช้สารอาหารกลุ่ม คาร์โบไฮเดรตได้ไม่เต็มที่ และนี่ก็เป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่สงผลให้กุ้งสูญเสียน้ำหนักเปลือกนิ่ม ตัวหลวม

 ซึ่งแร่ธาตุแต่ละชนิดจะมีส่งเสริมและขัดแย่งซึ่งกันและกันอยู่ ดังจะเห็นได้จากภาพที่ 2

 

 

ช่วงความถี่ ในการลอกคราบแต่ละครั้ง กุ้งจะมีความถี่และความห่างในการลอกคราบแต่ระยะแตกต่างกันตามอายุของกุ้ง ดังนี้
*
กุ้งน้ำหนักประมาณ 2-5 กรัม (อายุประมาณไม่เกิน 30 วัน) ช่วงการลอกคราบ 6-7 วัน/ครั้ง
*
กุ้งน้ำหนักประมาณ 6-9 กรัม (อายุ 1-2 เดือน) ช่วงการลอกคราบ 7-8 วัน/ครั้ง
*
กุ้งน้ำหนักประมาณ 10-15 กรัม (อายุ 2-3 เดือน/100 ตัว/กก.) ช่วงการลอกคราบ 9-10 วัน/ครั้ง
*
กุ้งน้ำหนักประมาณ 16-22 กรัม (อายุ 3-4 เดือน/60 ตัว/กก.) ช่วงการลอกคราบ 12-13 วัน/ครั้ง

ลักษณะของกุ้งที่ขาดแร่ธาตุ

1.       กุ้งโตแล้วตัวนิ่ม เปลือกบาง หรือลอกคราบไม่ออก

2.       ลอกคราบแล้วเปลือกไม่แข็ง

3.       กุ้งกินกันเองหลังลอกคราบ

4.       กุ้งตัวหลวมเนื้อไม่แน่น

5.       กุ้งตัวสีฟ้า กินอาหารลด

6.       เปลือกด้าน ไม่เป็นมันวาวตามธรรมชาติ


สารประกอบในกลุ่มแร่ธาตุรอง

·        ทองแดง

·        เหล็ก

·        สังกะสี

·        แมงกานีส

·        ไอโอดีน

·        ซิลีเนียม

·        โคบอลท์


Visitors: 33,906