คำถามที่ลูกค้าพบบ่อย

คำถามที่ลูกค้าถามบ่อย

ถาม  :  กุ้งแข็งแรง สุขภาพดี  ดูอย่างไร  ดูที่อะไรบ้าง

ตอบ  :  กุ้งที่แข็งแรง ดูได้จากการเช็คยอจะง่ายและสะดวกที่สุด โดยกุ้งที่แข็งแรงจะดีดตัวดี  ไม่นอนยอ  ตัวไม่ขาวขุ่น  ไม่งอ   ลำตัวต้องไม่มีบาดแผล  เปลือกต้องแข็ง  มีความมันวาว   ตับของกุ้งที่สุขภาพดีจะต้องมีน้ำตาลเข้ม  และมีขนาดใหญ่สมกับตัว

 

 

ถาม  :  มีวิธีเลือกลูกกุ้งก่อนปล่อยอย่างไร

ตอบ  :  ตามเกณฑ์มาตรฐานของกรมประมง จะมีอยู่ 6 ข้อด้วยกัน คือ 

  1. อายุลูกกุ้งต้องมากกว่า PL 10
  2. ความสะอาดและความสมบูรณ์ของรยางค์และลำตัว(ไม่มีปรสิตเกาะ)
  3. ความสมบูรณ์ของตับ
  4. อัตรากล้ามเนื้อต่อลำไส้(MGR) มากกว่า 4:1 แสดงถึงการเจริญเติบโตที่ดี
  5. ความสมารถในการปรับตัวต่อสภาพแวดล้อม
  6. ปริมาณเชื้อวิบริโอรวมในลูกกุ้ง ไม่เกิน  103 cfu/g

มาตรฐานต่างๆเหล่านี้ เป็นวิธีการที่ดีแต่อาจมีความยุ่งยากไปสักนิด  แต่เกษตรกรสามารถใช้วิธี

ที่ทำได้ง่ายๆ  เช่น  นำลูกกุ้ง 50 ตัว มาแช่ในน้ำจืด 5 ลิตร  เป็นเวลา 30 นาที   ต้องไม่พบตัวตาย  ถ้าในกรณีที่อนุบาลโดยใช้ความเค็มต่ำ  สามารถใช้  ลูกกุ้ง 50 ตัว  มาแช่ในฟอร์มาลีน 0.5 ซีซี/น้ำ 5 ลิตร  เป็นเวลา 30 นาที  ต้องไม่พบตัวตายเช่นกัน

 

 

 

ถาม  :  ทำอย่างไรให้กุ้งรอด

ตอบ  :  การเลี้ยงกุ้งในปัจจุบันยากขึ้นมาก เนื่องจากการปรับปรุงพันธุ์ที่อาจผิดพลาด สภาพแวดล้อมเสื่อมโทรม  จึงทำให้กุ้งอ่อนแอลง  เกษตรกรเองจะต้องมีความเข้มงวดมากขึ้น  ในทุกๆด้าน  ตั้งแต่การเลือกลูกกุ้ง การเตรียมบ่อเตรียมน้ำ   คุณภาพน้ำ  แร่ธาตุ   สมดุลต่างๆในบ่อทั้งแพลงก์ตอนและแบคทีเรีย  โดยสรุปก็คือจัดการเหมือนที่ผ่านมา แต่ต้องเข้มงวดมากขึ้น

 

 

ถาม  :  ผลการตรวจน้ำมีผลต่อการเลี้ยงมากไหม

ตอบ  :  การตรวจวัดคุณภาพน้ำมีผลต่อการเลี้ยงมาก แต่ในการเลี้ยงกุ้งไม่ใช่แค่การตรวจคุณภาพน้ำอย่างเดียวจะเพียงพอ  โดยคุณภาพน้ำจะเป็นตัวบอกว่าน้ำในบ่อขณะนั้นมีความเหมาะสมที่จะเลี้ยงกุ้งมากน้อยเพียงใด  ของเสีย  หรือแร่ธาตุต่างๆ มีอยู่มากแค่ไหน   แต่ในการเลี้ยงยังต้องมีการป้องกันและควบคุมในส่วนของเชื้อโรคด้วย

 

 

ถาม  :  ทำไมฝนตกหนักถึงพบกุ้งตาย ทั้งที่เติมปูนกับตีน้ำแล้ว

ตอบ  :  ในกรณีที่ฝนตกหนัก จะทำให้ pH  , อัลคาไลน์ รวมถึงปริมาณแร่ธาตุต่างๆลดลง การที่เติมปูนลงไปจะสามารถช่วยได้ในระดับหนึ่ง แต่อาจไม่ได้ช่วยในส่วนของแร่ธาตุตัวอื่นๆ  นอกจากแคลเซียม  ยิ่งฝนตกหนักมาก หรือติดต่อกัน จะส่งผลให้แพลงก์ตอนดรอป ทำให้น้ำเสีย  โดยกุ้งอาจตายจากการขาดแร่ธาตุ และน้ำดรอป เป็นต้น

 

 

ถาม  :  พ่อแม่พันธุ์ 1 ชุด  ใช้ผลิตไข่ได้กี่ครั้ง 1 ครั้งได้ไข่กี่ฟอง และได้ลูกกุ้งกี่ตัว

ตอบ  :  แม่พันธุ์ 1 ตัว  สามารถให้ไข่ได้ไม่เกิน 3 ครั้ง  โดยเฉลี่ย 1 ครั้งให้ไข่ 500,000-1,000,000 ฟอง  ได้นอเพลียสประมาณ 300,000-500,000 ตัว  และได้กุ้ง PL ประมาณ 100,000-300,000 ตัว

 

 

ถาม  :  ลงยาฆ่าสาหร่ายแล้วทำไมไม่ตาย

ตอบ  :  สาหร่ายขนาดใหญ่จะมีวิวัฒนาการที่สูงขึ้น ทำให้สามารถทนกับสารเคมีต่างๆได้มากกว่า

แพลงก์ตอน  ในการกำจัดต้องใช้สารเคมีที่รุนแรงมากขึ้น หรือปริมาณมากขึ้น  ซึ่งอาจเป็นพิษต่อกุ้งในบ่อ ต้องแก้ปัญหาเฉพาะหน้าไปก่อนคือ ตักออก  และเมื่อเตรียมบ่อครั้งต่อไปต้องตากบ่อให้แห้ง พร้อมกับลงยาฆ่าสาหร่ายก่อนลงกุ้ง

 

 

ถาม  :  ยาฆ่าเชื้อควรใช้ตอนไหนถึงจะให้ผลดีที่สุด

ตอบ  :  การใช้ยาฆ่าเชื้อบางกลุ่มที่มีฤทธิ์ฆ่าแพลงก์ตอน และลด O2  เช่น  BKC , ฟอร์มาลีน  ควรลงช่วงกลางวัน เนื่องจากจะทำให้แพลงก์ตอนกลับมาได้เร็ว และ O2 ไม่ต่ำลงมาก    ส่วนยาฆ่าเชื้อบางตัวที่เสื่อมฤทธิ์ได้เร็ว เช่น ไอโอดีน , ด่างทับทิม ควรลงตอนเย็นเนื่องจากเสื่อมฤทธิ์ง่ายเมื่อโดนแสงแดด

 

 

ถาม  :  วัสดุปูนควรใช้ช่วงไหนถึงจะให้ผลดีที่สุด

ตอบ :  วัสดุปูนโดยทั่วไปเราจะใช้ในการเพิ่ม pH  และ อัลคาไลน์  ซึ่งเวลาที่เหมาะสมในการลงก็คือช่วงเย็น-ค่ำ  เพราะจะเป็นการช่วยประคอง pH ไม่ให้ต่ำลงมากช่วงดึก-เช้า  แต่ถ้าต้องการให้ช่วยในการสร้างสีน้ำด้วยก็ลงในช่วงเช้าเพื่อให้แพลงก์ตอนดึงไปใช้ได้

 

 

ถาม  :  โดโลไมท์ ช่วยอะไรบ้าง และต้องลงช่วงเวลาไหน

ตอบ  :  โดโลไมท์เป็นหินปูนจากธรรมชาติ มีในส่วนของธาตุ Ca และ Mg ในรูป CO3 ช่วยในการคุม pH และ อัลคาไลน์  นอกจากนี้ยังมีส่วนช่วยในการสร้างสีน้ำ  จึงลงช่วงเช้าน่าจะเหมาะสมกว่า

Visitors: 33,826