ระบบภูมิคุ้มกันของกุ้ง

                    ระบบภูมิคุ้มกันโรคของกุ้ง

ระบบภูมิคุ้มกันโรค คือ กลไกของสัตว์ในการป้องกันตัวเองต่อต้านและทำลายเชื้อจุลชีพที่จะทำให้สัตว์เกิดการป่วยและตายซึ่งกุ้งระบบภูมิคุ้มกันแบบ ไม่มีความจำเพาะเจาะจง (Non-specific immunity) 

1.        ระบบการป้องกันเชื้อจุลชีพเข้าสู่ร่างกายที่ก่อให้เกิดโรคจะสามารถเข้าสู่ร่างกาย ของกุ้งได้ 3 ทาง

 

สาเหตุที่ทำให้เชื้อเข้าสู่ร่างกายได้

การป้องกัน

เปลือก

การลอกคราบไม่สมบรูณ์  เปลือกนิ่ม กุ้งเป็นแผล

ควรเสริมแร่ธาตุระหว่างการเลี้ยง รักษาสภาพพื้น ใช้จุลินทรีย์บำบัดของเสีย

เหงือก

ปริมาณออกซิเจนในน้ำต่ำ
และมีก๊าซพิษซึ่งทำอันตรายกับเซลล์เหงือก

รักษาระดับออกซิเจนในน้ำไม่ให้ต่ำและควบคุมก๊าซพิษต่าง ๆ ตลอดจนป้องกันตะกอนเข้าเหงือกและแพลงก์ตอนที่ทำให้เหงือกบาดเจ็บได้

ระบบทางเดินอาหาร

สมดุลย์ของจุลชีพในทางเดินอาหารเสียไป

การให้โปรไบโอติกผสมอาหารเพื่อรักษาสมดุลย์ของจุลชีพที่มีประโยชน์ให้มีปริมาณที่มากพอ

 


ชนิดของเม็ดเลือดกุ้ง

2.1) ไฮยาลิน เซลล์ ( Hyaline cell )เป็นเซลล์เม็ดเลือดที่มีรูปร่างแบน กลม ผิวเรียบ

2.2) เซมิกรานูลลาร์ ( Semigranular hemocyte) เป็นเซลล์เม็ดเลือดที่พบลักษณะของเม็ดกรานูลขนาดเล็ก อยู่ในเซลล์

2.3) กรานูลาร์ (Large granular hemocyte ) เป็นเซลล์เม็ดเลือดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและ

 

เมื่อได้รับสิ่งแปลกปลอมการป้องกันตัวของกุ้งจะเริ่มขึ้นในทันทีที่ โดยจะเกิดในหลายลักษณะดังนี้

3.1) เลือดเกิดการแข็งตัวของเลือดเกิดบาดแผลและป้องกันการติดเชื้อผ่านบาดแผล เกิดจากการทำงานของเม็ดเลือดไฮยาลินเซลล์ และโคแอคกลูโลเจน( Coagulogen )

3.2) การกลืนทำลายสิ่งแปลกปลอม( phagocytosis ) เมื่อเม็ดเลือดเซมิกรานูลาร์ พบสิ่งแปลกปลอมเข้าจะมีการยื่นไซโตพลาสซึมเข้าไปล้อมรอบสิ่งแปลกปลอมแล้วกลืนเข้าสู่ภายในเซลล์ทำให้สิ่งแปลกปลอมที่ถูกกลืนกินเข้าในเซลล์ถูกทำลาย

3.3) การสร้างปม (noduledormation)และการห่อหุ้มสิ่งแปลกปลอม (encapsulation) ในกรณีที่มีสิ่งแปลกปลอมหรือเชื้อก่อโรคเข้าสู่ร่างกายในปริมาณมากจนเกินความสามารถของ การกลืนกินสิ่งแปลกปลอมจะทำลายได้ทัน เม็ดเลือดกุ้งจะมารวมตัวกันมาก ขึ้นเพื่อล้อมรอบและมีการทำงานของระบบโพรฟีนอลออก ซิ- เดสเข้ามาทำลายสิ่งแปลกปลอม

              ระบบโพรฟีนอลออกซิเดส prophenoloxidase system

เป็นกระบวนการสร้างเม็ดสีดำที่เรียกว่า เมลานีน( Melanin pigment )  โดยเมลานีน จะเป็นตัวทำลายสิ่งแปลกปลอมที่อยู่ในเม็ดเลือด ระบบโพรฟีนอลออกซิเดสจะทำงานโดยอาศัยองค์ประกอบของเอนไซม์โพรฟีนอลออกซิเดสซึ่งจะพบได้ในเม็ดเลือดชนิดเซมิกรานูลาร์ และ กรานูลาร์โดยจะมีการเก็บเอ็นไซม์ไว้ในเม็ดกรานูลที่อยู่ในไซโตพลาสซึมการทำงานของระบบจะเริ่มต้นเมื่อเม็ดเลือดที่มีกรานูลถูกกระตุ้นด้วยผนังเซลล์ของจุลินทรีย์ที่มีองค์ประกอบจำพวกไลโปโพลีแซคคาไรด์   เบต้า -1,3 กลูแคน และผลผลิตสุดท้ายจะได้เป็นเมลานิน(Melanin) ซึ่งเป็นพิษต่อจุลชีพ สามารถยับยั้งเชื้อแบคทีเรียได้

 วิธีการปฎิบัติเพื่อให้ระบบภูมิคุ้มกันของกุ้งมีประสิทธิภาพสูงขึ้นมีหลักอยู่ 3 ประการที่สำคัญ คือ

    1.กุ้งควรได้รับอาหารเสริมที่มีคุณภาพเพราะอาหารสำเร็จรูปที่กุ้งกินนั้นเน้นส่วนของสารอาหารหลักเช่น เท่านั้น ยังขาดในส่วนของวิตามิน เกลือแร่ กรดอะมิโน กรดไขมันเพื่อให้ร่างกายของกุ้งมีความสมบูรณ์ที่จะผลิตเม็ดเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
    2.เราสามารถกระตุ้นการทำงานของ กุ้งได้โดยใช้สารกระตุ้นภูมิคุ้มกัน เช่น ไลโปโพลีแซคาร์ไรด์ เบต้า -1
,3 กลูแคน สาหร่ายเกลียวทอง และโปรไบโอติก ผสมในอาหารให้กุ้งกินอย่างสม่ำเสมอ
    3.พยายามรักษาสภาพแวดล้อมของกุ้งให้ดีอยู่ตลอดเวลามีการใช้จุลินทรีย์บำบัดของเสียอย่างต่อเนื่อง  คำนวณอาหารให้แม่นยำตลอดจนควรมีการเปลี่ยนแปลงของน้ำในบ่อ


 

 

ที่มา : ดร.กิจการ ศุภมาตย์.
วารสารสงขลานครินทร์ ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ปีที่ 22 ฉบับพิเศษ 2543 : กุ้งกุลาดำ.
(ระบบภูมิคุ้มกันและการกระตุ้นภูมิคุ้มกันโรคในกุ้งกุลาดำ)

Visitors: 43,178